วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลักเพื่อสร้างความเข้าใจ
เชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


โดย ประกายดาว ใจคำปัน

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย

นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 25 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าข้าม อำเภอฮอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

1. แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 หน่วยการเรียน 40 แผน จัดประสบการณ์โดยแต่ละหน่วยการเรียนประกอบด้วย 5 แผนการจัดประสบการณ์ ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนวันละ 1 แผน 
2. กำหนดการจัดเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย

ผลการวิจัย

การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก เพื่อสร้างความเข้าเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนั้น เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในเรื่องจำนวนและการนับจำนวนสูงกว่าในความเข้าจเชิงมโนทัศน์ในด้านอื่นๆ ซึ่งอาจสืบเนืองมาจากความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในเรื่องจำนวนและการนับจำนวนนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและมักจะพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด จึงทำให้เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ในประเภทนี้มากกว่าประเภทอื่นๆ ดังนั้นการที่เราต้องการให้เด็กมีความเข้าใจเชิงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดในเรื่องใด ครูควรจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสนใจของเด็ก เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ของเด็กได้อย่างเด็มศักยภาพ

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันนทึกครั้งที่ 16

20 กุมภาพันธ์ 2556

วันนี้นำเสนองาน ทั้งหมด4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หน่วยไข่
กลุ่มที่ 2 หน่วย ไข่
กลุ่มที่ 3 หน่วย โรงงเรียน
กลุ่มที่ 4 หน่วยน้ำ

อาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยต่างๆที่เพื่อนๆได้มานำเสนอให้ถูกต้อง 

บันทึกครั้งที่ 15

13 กุมภาพันธ์ 2556


นำเสนองานเรื่องสัตว์

อาจารย์ได้สอนเพิ่มเติมมากมายเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอ ขั้นตอนการนำเสนอ และวิธีการสอนที่ถูกต้อง

บันทึกครั้งที่ 14

6 มกราคม 2556

เพื่อนนำเสนองาน หน่วยครอบครัว
อาจารย์ได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะนำไปปฎิบัติต่อเด็กให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่เป็นสาระ โดยอาจารย์ได้แนะนำวิธีคือการร้องเพลงหรือเล่านิทาน

บันทึกครั้งที่ 13

30 มกราคม 2556

สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์


1. จำนวนและตัวเลข
       1.1 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
       1.2 การนับ
       1.3 การใช้ตัวเลข
       1.4 การจัดลำดับจำนวน
       1.5 อันดับที่
       1.6 ค่าของตัวเลข
       1.7 การอ่านและการเขียนตัวเลข
2. การจัดกระทำกับจำนวนนับ และศูนย์
       2.1 การเพิ่มการบวก
       2.2 การหักออก การลบ
       2.3 การคูณ
       2.4 การหาร
3. จำนวนตรรกะ
     3.1 เศษส่วน
     3.2 ทศนิยม
     3.3 จำนวนคู่ จำนวนคี่
     3.4 พหุคูณ และตัวประกอบ
     3.5 จำนวนเฉพาะ
4. การวัด
     4.1 ความยาว
     4.2 ความกว้าง
     4.3 ความสูง
     4.4 น้ำหนัก
     4.5 ปริมาตร
     4.6 เวลา
     4.7 เงิน
5. เรขาคณิต
6. การแก้ปัญหา
     6.1 ความน่าจะเป็น
     6.2 การจำแนกประเภท
    6.3 ความคล้ายและความต่าง
    6.4 ความสัมพันธ์บางส่วน – ทั้งหมด
    6.5 การทำการแก้ปัญหา
    6.6 การประมาณคำตอบ
    6.7 การค้นหาข้อมูล
   6.8 การสร้างแบบรูป
   6.9 การทำนาย

บันทึกครั้งที่ 12

23 มกราคม 2556

อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันคิดว่า "นักศึกษาเอกการศึกษาปฐมวัยมีความสามารถอะไรบ้าง"

- บทบาทสมมติ     


        









- นิทานเวที










- นิทรรศกาลสื่อ
                             










                                                         

- เล่นดนตรี







- ร้องเพลง   

- เล่านิทาน










- รำ       



                                        
 - งานศิลปะ











- เต้น      

                                       





-  เล่นเกม












เมื่อให้นักศึกษาได้ยกตัวอย่างแล้ว อาจารย์ก็ได้จัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ดูเพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับใช้ในหน่วยของตนเอง

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 11

16 มกราคม 2556

เข้าร่วมกิจกรรมรำลึกพระคุรครู

บันทึกครั้งที่ 10

9 มกราคม 2556

หลักการสอนคณิตศาสตร์ 

การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. จัดประสบการณ์ที่ทำให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
3. มีการวางแผนอย่างดีและมีจุดมุ่งหมาย
4. คำนึกถึงการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. สังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ของเด็ก
6. ใช้ประสบการณ์เดิมของเด็ก ในการสอนประสบการณ์ใหม่ และสถานการณ์ใหม่ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ในขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตประจำวัน
9. ให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
11. แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
12. ควรสอนความคิดรวบยอดในและครั้ง
13. แก้ไขปัญหาการการเรียนรู้ที่ได้จากการเล่นจากง่ายไปหายาก
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลข หรือเครื่องหมาย
15. ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์


บันทึกครั้งที่ 9

2 มกราคม 2556

ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากกลับบ้านต่างจังหวัด



บันทึกครั้งที่ 8

26 ธันวาคม 2555

สอบกลางภาค



บันทึกครั้งที่ 7

19 ธันวาคม 2555

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล  มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้


สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางมาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ 


สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


บันทึกครั้งที่ 6

12 ธันวาคม 2555

อาจารย์ให้นักศึกษาช่วนกันทำผังการเรียนรู้โดยการนำกล่องขนาดต่างๆมาประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ